top of page

ต้นกำเนิด "ผัดไทย" เมนูประจำชาติ ?


ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ปัจจุบันเรียกสั้นๆจนเหลือแค่คำว่า ผัดไทย ซึ่งเป็นอาหารอีก 1 เมนูที่ประจำชาติและขึ้นชื่อของประเทศไทย มีต้นกำเนิดในสมัย จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (บริหารประเทศ ตั้งแต่ปี 2481 – 2500)

ในช่วงก่อนการคิดค้นสูตรผัดไทยขึ้นนั้นเป็นช่วงสมัยสงครามโลกครั้ง 2 เกิดภาวะ ข้าวแพง เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ รวมไปถึงภาวะความแตกแยกทางชาตินิยม เพราะการมีคนไทยเชื่อสายต่างๆจำนวนมาก เช่น เชื้อสายจีน ซึ่ง ในช่วงนั้นประเทศยังใช้ชื่อว่า สยาม

จึง มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย “รัฐนิยม”หลายอย่าง เพื่อปลุกระดม “ลัทธิชาตินิยม” ในหมู่ข้าราชการและประชาชนอย่างกว้างขวาง มีความพยายามที่จะให้คนไทย “รักเมืองไทย ชูชาติไทย” “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ”

แต่การจะรณรงค์ให้ประชาชนมกินเส้นก๋วยเตี๊ยวก็ไม่เหมาะ เพราะ ก๋วยเตี๋ยว ได้รับอิทธิพลจากชาวจีน เหมือนผัดซีอิ้วมากเกินไป เลยมีการคิดค้นเปลี่ยนเป็น เส้นจันทบูร แทนและใส่กุ้งแห้งแทนเนื้อหมู และส่วนผสมอื่นๆลงไป แล้วก็ตั้งชื่อให้เป็นชาตินิยม ว่า ผัดไทย นั้นเอง

โดยท่าน จอมพลป. พิบูลสงคราม ได้กล่าวเอาไว้ว่า

“อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยวมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานพร้อม ทำเองได้ในประเทศไทย หาได้สะดวกและอร่อยด้วย หากพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละหนึ่งชามทุกวัน วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยหนึ่งวันเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์เท่ากับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้ เงินเก้าแสนบาทนั้นก็จะไหลไปสู่ชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเลทั่วกันไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียว และเงินหนึ่งบาทก็มีราคาหนึ่งบาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ไม่ได้เหมือนอย่างทุกวันนี้ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยชน์เต็มที่ในค่าของเงิน”

จากคำกล่าวข้างต้น อาจเห็นได้ว่า คงเป็นยุคสมัยที่มีกักตุนสินค้า ทำให้เงินไม่หมุนเวียนไปสู่ประชาชนทั่วไป

ต้องว่าอิทธิผลอาหารเกี่ยวกับเส้นในภูมิภาคนี้จะมีลักษณะคล้ายกัน ตั้งแต่ ผัดซีอิ้ว ของ จีน, ผัดไทย ของ ไทย, เฝอส่าว ของเวียดนาม

แต่ต้องยอมรับว่า ความกลมกล่อม และอร่อยของผัดไทย ทำให้อาหารเมนูนี้ สร้างชื่อให้ประเทศในเวลาต่อมา ถึงแม้ต้นกำเนิดเกิดขึ้นเพราะ ภาวะเศรษฐกิจ และ ภาวะการเมืองในเรื่องของชาตินิยม

Recent Posts
Search By Tags
Archive
Follow Us
  • Facebook Basic Square
bottom of page